วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554


กู่มหาธาตุ(ปรางค์กู่บ้านเขวา) Add Favorite

สถานที่ตั้ง กู่มหาธาตุ(ปรางค์กู่บ้านเขวา):
เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่ท่องเที่ยว
 ตลอดทั้งปี

ลักษณะของสถานที่
 เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทำด้วยศิลาแลงเป็นรูปกระโจมสี่เหลี่ยม สูงจากดินถึงยอด 4 วา กว้าง 2 วา 2 ศอก ภายในปราสาทมีเทวรูปทำด้วยดินเผา 2 องค์ นั่งขัดสมาธิ ประนมมือ ถือสังข์ มีกำแพงทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบโคปุระ อยู่แนวด้านทิศตะวันออกเป็นทางเข้าออกภายในกำแพงเพียงด้านเดียว บรรณาลัยอยู่ภายในกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีทางเข้าในปรางค์ประธานเพียงด้านเดียว คือ ทิศตะวันออก ส่วนอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก กรอบประตูและทับหลังเป็นหินทราย

ข้อมูลอาหารพื้นเมือง ( ถ้ามี )
 ไม่มีข้อมูลอาหารพื้นเมือง

ของฝากของที่ระลึก
ผ้าไหม
,ผ้ามัดหมี่,ผ้าขิต,หมอนขิต และเสื่อกก
ข้อมูลอื่นๆ ( มีโชว์ การแสดง )
ชมโบราณสถาน

ที่อยู่
 บ้านเขว้า ต.เขว้า

การเดินทางโดยรถยนต์
 ตั้งอยู่ที่บ้านเขว้า ต.เขว้า อ.เมือง ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กม.

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

พระพุทธรูปยืนมงคล


          พระพุทธรูปยืนมงคล เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีสร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธรูปมิ่งเมือง พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันคือ เมื่ออำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ผู้ชายสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง ผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองยางมโหฬาร ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสองค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล พระพุทธรูปยืนมงคลตั้งอยู่ที่ตำบลคันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

สะดืออีสาน





สะดืออีสานคือจุดที่อยู่กึ่งกลางของอีสาน หลายคงจะไม่ทราบว่า..มันตั้งอยู่ใน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคามนั่นเอง

วนอุทยานโกสัมพี

วนอุทยานโกสัมพี (KOSUMPEE FOREST PARK) ตั้งอยู่ในเขตท้องที่เขตเทศบาลเมืองโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม บริเวณ เขตวนอุทยานโกสัมพี มีเนื้อที่ ประมาณ 125 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ดำเนินการ 2 ส่วน พื้นที่ส่วนที่ 1 ใช้สร้างอาคารสำนักงาน บ้านพักรับรอง บ้านพักเจ้าหน้าที่และอื่น ๆ พื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าใช้สำหรับศึกษาธรรมชาติ และพักผ่อนอันประกอบไปด้วยป่าไม้ ลำน้ำชี แก่งตาด ลานข่อย และฝูงลิงแสม

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อุทยานมัจฉา ตั้งอยู่บ้านโขงกุดหวาย หมู่ที ๗ ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม หางจากเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ๖กิโลเมตร ตามเส้นทางมหาสารคาม มุกดาหารบริเวณอุทยานตั้งอยู่ในกุดหวาย สวนตรงเนินกลางกุดมีหญ้าคา หญ้าแฝกงอกงามมากตรงบริเวณหัวคุ้งน้ำ พระครูพิทักษ์โกสุมพิสัย (ญาครูโม่ง) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีได้ไปตั้งสำนักสงฆ์เพื่อเป็นสวนหญ้า สำหรับเกี่ยวมามุงศาสนสถานในสมัยโบราณ ปัจจุบันบริเวณนี้ชาวบ้านได้ตั้งเป็นวัดชื่อ พิทักษ์สามัคคีโพธิ์ศรี ๒ ภายในวัดก็จะมีสัตว์ที่ชาวบ้านนำมาวัดช่วยเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็น จระเข้ สุนัขจิ้งจอก ลิง เยี่ยว กระต่าย นก และหนูตะเพา ฯลฯ และ ภายในอุทยานแห่งนี้ มีร้านจำหน่ายอาหารปลา มีสะพานไม้ ขนาดกว้าง ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ยาว ๘๓ เมตร ข้ามคุ้งน้ำไปบริเวณวัด และใช้เป็นสถานที่ให้อาหารปลาและชมปลาได้ด้วย มีซุ้มริมฝั่งน้ำ ๔ ซุ้ม แพลอยน้ำขนาด ๓ x ๕.๕๐ เมตร จำนวน ๑๐ แพ ให้นักท่องเที่ยวรับประทานอาหารและชมปลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทีมีประชาชนไปเที่ยวจำนวนมาก ทุกวัน

พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนพ.ศ.2542 ตั้งในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย มหาสารคามตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกของอาคารบรมราชกุมารี (สำนักอธิการบดี) ภายในมีสวนสัตว์มีเรือนประยุกต์หลังใหญ่ ประกอบด้วย สำนักงาน ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุมย่อย ห้องรับรอง คลังพิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรือนอีสานประยุกต์หลังเล็ก เรือนโข่ง เรือเกย เล้าข้าว ตูบต่อเล้า จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตชาวลุ่มแม่น้ำชี เรือนผู้ไท ลานกิจกรรม และสถานีศึกษาสัตว์ได้แก่ กวาง นกยูง ฯลฯ บรรยากาศดีร่มรื่น น่าอยู่

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กู่สันตรัตน์






         เป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะขอมสมัยบายนอายุระหว่าง
พ.ศ.1700-1750 ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเหมือนกู่มหาธาตุ และมีทับหลังประตู มุขหน้าจำหลักลายงดงามน่าดู กู่สันตรัตน์ตั้งอยู่ที่ ต.พระธาตุ อำเภอนาดูน จ.มหาสารคามจากเส้นทาง 2040 เข้าเส้นทาง 2045 เข้าอำเภอนาดูนประมาณ 1 กม
.http://www.rd.go.th/mahasarakham/55.0.html

พระธาตุนาดูน





พระธาตุนาดูน พุทธมณฑลแห่งอีสาน มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง ในอดีต เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรี ใช้เส้นทางหมายเลข 2040 จากมหาสารคามผ่านอำเภอแกดำ อำเภอ วาปีปทุม เลี้ยวเข้าอำเภอนาดูน ตามเส้นทางหมายเลข 2040 อยู่ห่างจากตัวจังหวัดราว 65 กิโลเมตรครับ